top of page
00.png
01_L.png

นักเรียน  l  โรงเรียน  l  อนาคต

About

       เมื่อลองคิดย้อนกลับไปในชีวิตวัยเด็ก สิ่งที่มนุษย์ทำนอกจากการกิน นอน เล่นสนุก และการใช้ชีวิต สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ปกครองหรือคนใกล้ตัวสอน หรือการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์ ชีวิต ก็ยังมีสถานที่อีกสถานที่นึงที่เรียกว่า โรงเรียน ที่คอยสอนเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตหรือวิชาความรู้ โรงเรียนเป็นสถานที่หลักในการให้ความรู้พื้นฐานแก่มนุษย์ ซึ่งเมื่อ พูดถึงโรงเรียนในประเทศไทยหรือการศึกษาในประเทศไทยเรามักนึกถึงคุณภาพชีวิตนักเรียนที่หลากหลายและแตกต่างกันไป ภาพที่เรามักเห็นคือคนที่เรียนโรงเรียนดี ๆ ในกรุงเทพจะได้รับโอกาสและการศึกษาที่ดีกว่าจังหวัดอื่น ด้วยสิ่งเหล่านี้จึงเกิดคำถามขึ้นมามากมายว่าทำไมโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยถึงให้การศึกษาได้ไม่เท่ากัน เป็นเพราะตัวบุคลากร การบริหารของผู้บริหารโรงเรียนหรือเป็นเพราะ ประเทศนี้ไม่เอื้ออำนวยกันแน่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าโรงเรียนที่ดีทุกโรงเรียนจะไม่มีปัญหา ทุกวันนี้ทุกโรงเรียนยังมีปัญหาอยู่ไม่มากก็น้อย ซึ่งในยุคที่อินเทอร์เน็ตสามารถใช้ได้อย่างแพร่หลาย ทำให้เด็กสามารถเล่าเรื่องราวปัญหาการใช้ชีวิตและปัญหาทางการศึกษาให้ผู้อื่นรับรู้ได้มากยิ่ง ขึ้น แต่การบอกเล่าก็ไม่ได้ทำให้ปัญหาเหล่านั้นถูกแก้ไขสักเท่าไหร่ ฉันจึงทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงให้แก่ เด็กนักเรียนว่าชีวิตของพวกเขาต้องเจอหรือฝ่าฟันสิ่งใดมาบ้าง และเหมือนเป็นการตั้งคำถามไปถึงผู้ที่มีอำนาจมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงว่า เด็กทุกคนควรมีชีวิตในวัยเรียนที่ดีกว่าตอนนี้หรือไม่

Work

ระบบการศึกษาไทย

01_R_Up.png

ปวช. กศน. การศึกษา เทียบเท่าม.6 ที่หลายคนยังไม่รู้

ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมืองเราทำให้เราได้เห็น ว่าเด็กอาชีวะหรือการเรียนสายอาชีพก็เก่งและมีความสามารถมาก ทั้งที่อายุเพียงแค่ 15-18 เท่านั้น หลาย ๆ คนอาจมีภาพจำของเด็กอาชีวะตีกัน แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแล้ว การตีกันหรือมีปัญหากันก็ลดน้อยลงมาก จนแทบไม่เห็นแล้วในปัจจุบันเด็กอาชีวะนั้นก็มีความสามารถเฉพาะทางที่สามารถสอบติดมหาลัยหรือทำงานได้เหมือนกับเด็กสายอื่น แต่หลายครั้งกลับโดนดูถูกทั้งที่เด็กอาชีวะก็มีความสามารถไม่แพ้เด็กสายอื่นด้วยซ้ำ วุฒิที่เทียบเท่าม.6และปวช.ก็ไม่ใช่เพียง2อย่างที่ทำให้สามารถต่อมหาลัยได้ แต่ยังมีการเรียนแบบกศน. ( การศึกษานอกระบบโรงเรียน ) และระบบสอบเทียบสำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งเมื่อสอบผ่านแล้วได้วุฒิเทียบเท่า ซึ่งรูปแบบที่คนนิยมสอบได้แก่ GED,GCSE, หรือ GCE เป็นต้น

เรียนฟรี (ที่ไม่ฟรี) ในระบบการศึกษาไทย

ตามกฎหมายประเทศไทยเด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นต่ำคือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ซึ่งในปัจจุบันโรงเรียนรัฐบาลก็ให้เด็กทุกคนเรียนฟรี แต่มันฟรีจริงหรอ? คำตอบคือ ไม่จริงแน่นอน สำหรับหลาย  โรงเรียน โรงเรียนรัฐบาลส่วนใหญ่ยังคงเก็บตังค์ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นเพิ่มอยู่ดี เช่นค่าเล่าเรียน กับครูต่างชาติ ค่าแอร์ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่โรงเรียนกำหนดขึ้นมา ซึ่งขึ้นอยู่กับโรงเรียนว่าจะคิดค่าอะไรบ้าง ซึ่งก็เกิดคำถามขึ้นว่าไหนบอกเรียนฟรีไง ทำไมรัฐบาลหรือโรงเรียนไม่ออกตังค์ในส่วนนี้ให้ ทั้งที่มันเป็นส่วนหนึ่งของการ ศึกษาซึ่งบางคนที่เขาไม่สามารถชำระเงินในส่วนนี้ได้เขาสามารถทำอย่างไรได้บ้าง? ก็ต้องอดเรียนไปหรือไม่สามารถเรียนจบได้ถ้าไม่ชำระเงินหรอ? ถ้าเป็นเช่นคงเป็นการตัดโอกาสการศึกษาของเด็กคนหนึ่งที่อาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นบุคลากรที่ดีของประเทศก็ได้ จะคิดค่าอะไรบ้าง ซึ่งก็เกิดคำถามขึ้นว่าไหนบอกเรียนฟรีไง ทำไมรัฐบาลหรือโรงเรียนไม่ออกตังค์ในส่วนนี้ให้ ทั้งที่มันเป็นส่วนหนึ่งของการ ศึกษาซึ่งบางคนที่เขาไม่สามารถชำระเงินในส่วนนี้ได้เขาสามารถทำอย่างไรได้บ้าง? ก็ต้องอดเรียนไปหรือไม่สามารถเรียนจบได้ถ้าไม่ชำระเงินหรอ? ถ้าเป็นเช่นคงเป็นการตัดโอกาสการศึกษาของเด็กคนหนึ่งที่อาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นบุคลากรที่ดีของประเทศก็ได้

01_R_Down.png

การเข้าแถว และ ศาสนาในโรงเรียน

เตรียมตัวเคารพ ธงชาติ ทั้งหมดแถวตรง !!!

เสียงเพลงโรงเรียนที่บอกถึงเวลาที่ต้องเข้าแถว และเสียงระฆังที่บ่งบอกถึงเวลาต้องเข้าเรียนทุกคนรู้เหมือนเป็นสัญญาณที่รับรู้ได้โดยไม่ต้องมีใครสอน นักเรียนเดินไปเข้าแถวตามลำดับชั้นและห้องเรียนที่ถูกคุณครูจัดตำแหน่งไว้ ทุกอย่างถูกทำให้อยู่ในระบบที่ควรจะเป็น? ระบบการเข้าแถวหน้าเสาธงเป็นสิ่งที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน การเข้าแถวหน้าโรงเรียนในแต่ละวันใช้เวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมง แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงรึเปล่า? ถ้าจะบอกว่าฝึกสอนความเป็นระเบียบวินัย แล้วทำไมโรงเรียนต่างประเทศถึงไม่ต้องฝึก? คำถามหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นเมื่อคิดถึงเรื่องการเข้าแถว ทำไมต้องร้องเพลงโรงเรียนทุกวัน?  ทำไมต้องร้องเพลงชาติ ? ทำไมต้องสวดมนต์ ? แล้วทำไมต้องนั่งกลางแดดเพื่อทำสิ่งเหล่านี้ ?  สิ่งที่ยากที่จะตอบเหล่านี้ ช่วยทำให้เด็กไทยพัฒนาขึ้นรึเปล่าถ้าเราทำครบและทำเป็นประจำ คำตอบอาจจะเป็นลักษณะของประเทศไทยในปัจจุบันที่บุคลากรในประเทศบริหารจัดการอยู่ บทความนี้ไม่ได้จะกล่าวว่าประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเรื่องผิด แต่บางคนอาจไม่ได้อินกับประเพณีเหล่านี้แล้วทำไมเขาถึงต้องฝืนทำในสิ่งที่เขาไม่ได้ชอบ บางคนอาจจะใช้เวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมงนี้ในการอ่านหนังสือ หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อฝึกทักษะตัวเองได้มากขึ้นด้วยซ้ำ แต่กลับต้องเสียเวลาอันมีค่าไปกับการเข้าแถวที่ไม่รู้ว่าประโยชน์คืออะไร

02_L.png

เมืองไทย “เมืองพุทธ!?” ตัวฉันจึงยืนอยู่ท่ามกลาง ชาวพุทธ

02_Real.png

คนที่นับถือศาสนาพุทธก็จะมีบทสวดให้ท่องเวลาเข้าวัดหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ คนที่นับถือศาสนาคริสต์ก็จะมีบทสวดและพิธีกรรมของศาสนาคริสต์ คนที่นับศาสนาอิสรามก็ต้องละหมาดและทำกิจกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกัน และศาสนาอื่นก็มีแนวทางที่แตกต่างกันไป ด้วยคำพูดที่เราได้ยินอย่างหนาหูว่าเมืองไทยเมืองพุทธ ซึ่งถ้าให้คิดตามหลักแล้วเมืองไทยมีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธมากกว่าศาสนาอื่น และเป็นเช่นนั้นมาเสมอเพราะเมื่อคนเกิดมักถูกครอบครัวเลือกศาสนาให้และศาสนานั้นจะติดตัวมาเรื่อย และเมื่อคนมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือศึกษาศาสนาอื่นแล้วการเปลี่ยนศาสนาก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร แต่การใช้ชีวิตในโรงเรียนในประเทศไทยนั้น มักให้พื้นที่แก่คนที่นับถือศาสนาพุทธ และทำให้คนที่นับถือศาสนาอื่นกลายเป็นตัวประกอบไปโดยปริยาย สังเกตุได้ตั้งแต่การเริ่มใช้ชีวิตในโรงเรียนที่เด็กทุกคนต้องท่องบทสวดมนต์หน้าเสาธงในทุก ๆ วัน และเด็กที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธก็จะได้รับคำสั่งจากคุณครูว่าให้ยืนเฉย ๆ ฟังเพื่อนสวดมนต์ แล้วทำไมเด็กเหล่านี้ต้องฟังเพื่อนด้วยล่ะ ? ทำไมถึงไม่มีพื้นที่ให้กับเด็กเหล่านี้บ้าง ? เพราะเค้าเป็นคนกลุ่มน้อยของสังคมโรงเรียนในประเทศไทยหรอ ? พอคิดอย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าน้อยใจไม่ใช่น้อย แต่นี่ก็เป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตในโรงเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่ก็จะมีวิชาพระพุทธศาสนา มีการให้เด็กสอบนักธรรมที่ต้องท่องพุทธศาสนสุภาษิตที่คล้ายเป็นการบังคับสอบสำหรับบางโรงเรียนจะเพิ่มคะแนนให้แก่เด็กที่สอบ ซึ่งเมื่อถามว่าโรงเรียนให้พื้นที่แก่เด็กศาสนาอื่นตรงไหนบ้าง ? ก็อาจจะตอบได้ว่าเป็นในส่วนของวิชาประศาสตร์หรือวิชาศาสนา ที่มีสอนเกี่ยวกับศาสนาอื่น ๆ แค่เพียงผิวเผินเท่านั้น ให้จำวันเดือนปี หรือคำสอนเพียงคร่าว ๆ ซึ่งสอดคล้องกับคำที่ว่าเมืองไทยเมืองพุทธจริง ๆ เพราะความเป็นประเทศไทยก็มักชอบผลักชนกลุ่มน้อยให้อยู่ที่มุมและชนกลุ่มมากได้อยู่ในที่แสงสว่างส่องถึงเป็นประจำอยู่แล้ว เพราะเช่นนี้อาจจะเป็นต้นตอของปัญหาก็เป็นได้

กิจกรรมภายในโรงเรียน

03_Real.png

ทานโทษนะคะ ! บางกิจกรรม หนูทำไปหนูก็ไม่รู้ว่าได้ ประโยชน์อะไร

เสียงเพลงโรงเรียนที่บอกถึงเวลาที่ต้องเข้าแถว และเสียงระฆังที่บ่งบอกถึงเวลาต้องเข้าเรียนทุกคนรู้เหมือนเป็นสัญญาณที่รับรู้ได้โดยไม่ต้องมีใครสอน นักเรียนเดินไปเข้าแถวตามลำดับชั้นและห้องเรียนที่ถูกคุณครูจัดตำแหน่งไว้ ทุกอย่างถูกทำให้อยู่ในระบบที่ควรจะเป็น? ระบบการเข้าแถวหน้าเสาธงเป็นสิ่งที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน การเข้าแถวหน้าโรงเรียนในแต่ละวันใช้เวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมง แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงรึเปล่า? ถ้าจะบอกว่าฝึกสอนความเป็นระเบียบวินัย แล้วทำไมโรงเรียนต่างประเทศถึงไม่ต้องฝึก? คำถามหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นเมื่อคิดถึงเรื่องการเข้าแถว ทำไมต้องร้องเพลงโรงเรียนทุกวัน?  ทำไมต้องร้องเพลงชาติ ? ทำไมต้องสวดมนต์ ? แล้วทำไมต้องนั่งกลางแดดเพื่อทำสิ่งเหล่านี้ ?  สิ่งที่ยากที่จะตอบเหล่านี้ ช่วยทำให้เด็กไทยพัฒนาขึ้นรึเปล่าถ้าเราทำครบและทำเป็นประจำ คำตอบอาจจะเป็นลักษณะของประเทศไทยในปัจจุบันที่บุคลากรในประเทศบริหารจัดการอยู่ บทความนี้ไม่ได้จะกล่าวว่าประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเรื่องผิด แต่บางคนอาจไม่ได้อินกับประเพณีเหล่านี้แล้วทำไมเขาถึงต้องฝืนทำในสิ่งที่เขาไม่ได้ชอบ บางคนอาจจะใช้เวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมงนี้ในการอ่านหนังสือ หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อฝึกทักษะตัวเองได้มากขึ้นด้วยซ้ำ แต่กลับต้องเสียเวลาอันมีค่าไปกับการเข้าแถวที่ไม่รู้ว่าประโยชน์คืออะไร

กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ ฮา-ไฮ! ฮา-ไฮ!!!

กีฬาสีเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เด็กบางคนรอคอยที่จะได้ร่วมสนุกกับเพื่อน เช่น ร้องเพลงเชียร์ด้วยกัน เล่นกีฬาที่ชอบ เป็นเชียร์ลีดเดอร์ หรือร่วมสนุกในส่วนอื่น ๆ แต่ในบางครั้งช่วงเวลานั้นก็เป็นสิ่งที่น่าอึดอัดสำหรับเด็กบางคน หลาย ๆ โรงเรียนอยากให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วมจึงมีการให้เด็กจัดกิจกรรมกันเอง และมีการให้รุ่นพี่ชวนรุ่นน้องหรือเพื่อนมาร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน ซึ่งก็แน่นอนว่าต้องมีคนที่ไม่ได้สมัครใจ แต่ด้วยบริบทของโรงเรียนไทยทำให้ทุกคนต้องมีส่วนร่วมไม่มากก็น้อย ซึ่งสำหรับหลาย ๆ โรงเรียนก็ไม่ได้มีเงินซัพพอร์ตที่เยอะในส่วนของกิจกรรมนี้ ทำให้เด็กต้องเก็บเงินกันเองเพื่อจัดกิจกรรมนี้ตามวิถีของกีฬาสีประเทศไทย ยกตัวอย่างที่เห็นคือซีรี่ย์ชื่อดังในประเทศไทยอย่างฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ในซีซั่นที่3 คงสามารถยอมรับได้ว่าเป็นซีรี่ย์ที่ตีแผ่เรื่องราวภายในโรงเรียนได้ชัดเจนและเป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินตัวของสังคมไทย จะมีพาร์ทหนึ่งของซีรี่ย์ที่จะเห็นได้ถึงความล้มเหลวของกีฬาสีที่มีการเก็บเงินเด็กนักเรียนไปเพื่อเป็นค่าต่าง ๆ และหนึ่งในค่าใช้จ่ายเหล่านั้นก็คือค่าชุดลีด การมีส่วนร่วมหรือการที่อยากจะดูดีในงานที่ตนเองเห็นว่าเป็นงานที่สำคัญไม่ใช่เรื่องที่ผิด ลองมองว่ากาารเป็นลีดอาจให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีก็คงใช่สำหรับบางคน แต่การเก็บค่าชุดลีดกับคนอื่นที่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมคงเป็นเรื่องที่น่าตื้นเขิน ด้วยความที่โรงเรียนมีวัฒนธรรมเหล่านี้มาอย่างยาวนาน กลายเป็นมายาคติที่ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกีฬาสี และยังมีค่าใช้จ่ายสัพเพเหระอีกมาก ที่บางครั้งก็ไม่ได้มีความจำเป็นในการจัดกิจกรรม ทำให้หลายครั้งเหล่าเด็กนักเรียนเกิดปัญหากันเองภายในโรงเรียน ซึ่งด้วยจุดประสงค์ของกีฬาสีคือทำให้เด็กสามัคคีกัน กลับกลายเป็นมีปัญหาและทำให้เป็นความทรงจำที่ไม่ดีแก่เด็กเหล่านั้นเขาไม่ได้มีส่วนร่วมคงเป็นเรื่องที่น่าตื้นเขิน ด้วยความที่โรงเรียนมีวัฒนธรรมเหล่านี้มาอย่างยาวนาน กลายเป็นมายาคติที่ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกีฬาสี และยังมีค่าใช้จ่ายสัพเพเหระอีกมาก ที่บางครั้งก็ไม่ได้มีความจำเป็นในการจัดกิจกรรม ทำให้หลายครั้งเหล่าเด็กนักเรียนเกิดปัญหากันเองภายในโรงเรียน ซึ่งด้วยจุดประสงค์ของกีฬาสีคือทำให้เด็กสามัคคีกัน กลับกลายเป็นมีปัญหาและทำให้เป็นความทรงจำที่ไม่ดีแก่เด็กเหล่านั้น

คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย ปีละ 8 บรรทัด? ทั้งที่เด็กไทยมีวิชา รักการอ่าน

วิชารักการอ่านเป็นวิชาที่ดีและควรส่งเสริม เด็กหลายคนได้รับข้อคิดดี ๆ จากการอ่านหนังสือและเกิดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ แต่ทว่าโรงเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าวืชานี้เป็นเหมือนวิชาเสริมที่ไม่ใช้วิชาหลัก จึงไม่ได้ให้คุณค่าแก่วิชานี้ โดยส่วนใหญ่วิชานี้จะให้เวลาเด็กเพียงแค่ 15-30 นาที ในการอ่านและสรุปใจความกันเอง โดยที่คุณครูไม่ได้สอนให้วิเคราะห์ แต่กลับให้เด็กรีบนั่งอ่านรีบเขียนและรีบส่ง ซึ่งกลายเป็นว่าเด็กไม่ได้รับการเรียนรู้สักเท่าไหร่ ครูแค่เห็นนักเรียนทำครบก็ปล่อยผ่านไปเฉย ๆ ถ้าหากครูเลือกบทความหรือหนังสือที่ดีและมีการสอนในส่วนต่าง ๆ ที่ให้เด็กอ่านว่าตรงไหนสามารถวิเคราะห์หรือตีความได้อย่างไร เด็กคงจะได้รับการเรียนรู้มากขึ้นอย่างแน่นอน

เมาคลี ล่าสัตว์ ฆ่าแชร์คาน ถลกหนังมัน ออกมาให้หมด มันฆ่าวัว! มันฆ่าควาย!

ถ้าถามฉันว่าได้อะไรจากการเรียนลูกเสือ ฉันคงตอบว่าได้รู้จักเพลงใหม่หลายเพลง ได้ความรู้เรื่องเงื่อนที่บางครั้งก็ใช้ประโยชน์บ้างนิดหน่อย และได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของลูกเสือด้วย แล้วสิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างไรกับการใช้ชีวิต ? เริ่มต้นการกำเนิดลูกเสือคือจากทหารคนหนึ่งในประเทศอังกฤษที่ฝึกเด็กหนุ่มเพื่อให้เป็นกำลังเสริมของทหารในด้านอื่น ๆ เช่นการส่งข่าวเป็นต้น และต่อมาไทยก็ได้ทำตามทหารคนนั้น โดยการฝึกหัดให้บุคคลทั่วไปรู้เรื่องวิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัยและมีความจงรักภักดีต่อสถาบัน บลาๆ และต่อมาก็มีคำสั่งให้ฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้เรื่องนี้ด้วย เพื่อให้โตไปเด็กรู้จักหน้าที่และประพฤติตัวเป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง พออ่านถึงตรงนี้ มี เอ๊ะ!? บ้างรึป่าว เช่น เห่ย ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้วรึป่าว ทำไมเราถึงยังต้องมีลูกเสือด้วย ทั้งที่เดี๋ยวนี้การสู้รบเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัวจากบุคคลทั่วไป และก็เป็นหน้าที่ของทหารด้วย ไม่ใช่หน้าที่ของเด็กหรือพลเรือน อีกเรื่องหนึ่งคือการจัดแถว เรียนเรื่องเงื่อน ร้องเพลง หรือการเดินขบวนเพื่อให้เด็กเคารพผู้ก่อตั้ง จะมีประโยชน์แก่เด็กอย่างไร ?  และโตมาเด็กได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้จริงรึป่าว ? ถ้าไม่นับรวมกับผู้ที่อยากเป็นทหารหรือตำรวจเพื่อรับใช้อะไรก็ตาม ซึ่งเมื่อเรียนลูกเสืออาจจะเป็นประโยชน์กับอาชีพเหล่านี้นิดหน่อย เพราะลูกเสือสอนให้มีความจงรักภักดีเหมือนอาชีพเหล่านี้  แต่เด็กที่ไม่ได้ต้องการจะเป็นทหารหรือตำรวจจะเรียนไปทำไมกัน ? หรือถ้าลองให้คิดวิธีแก้ไขปัญหาอย่างเร็ว ๆ ก็อาจจะให้ลูกเสือเป็นวิชาหรือกิจกรรมทางเลือกที่ให้เด็กเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะเรียนหรือไม่ เพื่อให้วิน ๆ ทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ที่อยากเรียนและไม่อยากเรียน ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ก็เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเรียนลูกเสือหรือการเข้าค่ายลูกเสือมาแล้ว ซึ่งเราสามารถมองว่าลูกเสือเป็นวิชาที่สร้างสรรค์ได้จริงหรอ ? ไม่แน่อาจจะมีกิจกรรมอย่างอื่นที่สร้างสรรค์มากกว่ากิจกรรมลูกเสือมาให้เด็กเรียนแทนวิชาลูกเสือก็ได้

ความรุนแรง ชุดนักเรียน จรรยาบรรณ

อาชีพแต่ละอาชีพต่างก็มีภาระหน้าที่ตัวเองต้องทำ มีกฎข้อห้ามแตกต่างกัน หรือที่เราเรียกกันว่า “จรรณยาบรรณ” ครูและนักเรียนก็เช่นเดียวกัน แต่กฎเหล่านี้ ก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องด้วย แล้วอะไรที่สามารถวัดได้ว่าสิ่งไหนถูกหรือผิดกันแน่ ? ก็คงจะเป็นศีลธรรมจรรยาที่คนทั้งโลกเห็นพ้องต้องกันเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สิ่งนี้คงเป็นเรื่องที่ผิดอย่างแน่นอน ความเหมาะสมและความถูกต้องระหว่างครูและลูกศิษย์ เช่นเรื่องความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งก็คงเป็นข้อห้ามอย่างหนึ่งด้วย ถามว่ามันผิดยังไง ?  คน 2 คนรักกันไม่ใช่เรื่องผิดไม่ใช่หรอ ? ทำไมถึงรักกันไม่ได้ ? ตามกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่จะมีกฎหมายห้ามพรากผู้เยาว์ ซึ่งตามกฎหมายไทยก็คือ อายุ 18 ปีบริบูรณ์ คนที่จะมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีทั้งเรื่องวุฒิภาวะและวุฒิการศึกษา ซึ่งก็มีอายุที่สามารถเรียกได้เป็นผู้ใหญ่แล้ว เพราะฉะนั้นการคบกับเด็กที่อยู่มัธยมซึ่งส่วนใหญ่มีอายุตำ่กว่า 18 ปีก็ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายแล้วถ้าหากไปไหนมาไหนด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการพรากผู้เยาว์เท่านั้น ยังมีในเรื่องความรู้สึกส่วนตัวแก่นักเรียนด้วย ยกตัวอย่างเช่นเมื่อครูมีความสัมพันธ์กับเด็กอย่างลึกซึ้งอาจจะทำให้เกิดการลำเอียงในการให้คะแนนหรือการสอนได้ เรื่องความเหมาะสมต่าง ๆ คนที่เรียนมาเพื่อเป็นครูคงจะรู้อยู่แล้ว แต่ในทุกวันนี้เราก็ยังเห็นข่าวที่ครูทำผิดจรรยาบรรณอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การคุกคามเด็กที่เห็นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามด้านความรุนแรง การใช้อำนาจเพื่อคุกคามเด็ก หรือจะเป็นในเรื่องการคุกคามทางเพศที่ทุกวันนี้ออกข่าวมากมาย แต่สุดท้ายคนกระทำผิดโดนออกจากโรงเรียนและไปใช้ชีวิตใหม่ได้ แต่เด็กต้องตกอยู่กับความรู้สึกแย่ตลอดไป ซึ่งทำให้เห็นว่ากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องมากมาย สุดท้ายผู้กระทำผิดก็กลับไปทำสิ่งเดิมอีกซำ้ ๆ เพราะผู้กระทำผิดได้รับโทษที่เบา หรือบางครั้งก็ไม่โดนอะไรเลย การสำรวจต่าง ๆ ยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มคนที่มีอันดับที่โดนคุกคามเยอะมากก็คือเด็กนักเรียน หรือคนที่ใส่ชุดนักเรียน แล้วเรามีชุดนักเรียนทำไมกันนะ ทั้งที่ชุดนักเรียนและเด็กนักเรียนมีเปอร์เซ็นต์การโดนคุกคามที่มากกว่าบุคคลอื่นมากมาย

04 3.png

ทำไมต้องเครื่องแบบนักเรียน ?

คำถามชวนคิดที่หลาย ๆ คนตั้งคำถามและหาคำตอบในช่วงที่ผ่านมา เราจะได้เห็นคนให้คำตอบที่หลากหลาย และเห็นทางกระทรวงศึกษาปรับเปลี่ยนกฎบางข้อ ให้อิสระกับเด็กนักเรียนเพิ่มขึ้น (นิดเดียวมาก ๆ) แต่ก็ยังมีบางโรงเรียนที่ไม่เปลี่ยนแปลงกฎตามกระทรวงและยังถือกฎของโรงเรียนเป็นหลักอยู่ และสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อข้อเรียกร้องที่เด็กหลายคนตั้งไว้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าตลกว่าร่างกายและการแต่งตัวก็เป็นเรื่องของเด็กแต่กลับเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นฝ่ายตัดสินให้และคิดแทนว่าควรจะเป็นอย่างไร บางครั้งก็เกิดข้อเปรียบเทียบที่ว่าบางโรงเรียนสามารถแต่งชุดอะไรไปก็ได้ แล้วทำไมโรงเรียนส่วนใหญ่ถึงยังให้ใส่ชุดนักเรียนอยู่?

อ้างอิงจากความคิดเห็นส่วนใหญ่ที่เห็นผ่านรายการหรือข่าวทางโทรทัศน์ โพสหรือคอมเมนต์ทางโซเชียลมีเดีย จะเห็นทางฝ่ายที่สนับสนุนให้ยังคงใส่ชุดนักเรียนและให้ทำตามกฎระเบียบทางด้านร่างกายในทุก ๆ วันบอกว่า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็ก ลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องแต่งกาย และลดเปอร์เซ็นต์การถูกคุกคามในประเภทต่าง ๆ เมื่อเห็นหรือได้ยินคำตอบเหล่านี้ก็เกิดความ เอ๊ะ!? จริงหรอ? ขึ้นมา ซึ่งเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุรึเปล่า ?

เช่น เรื่องความเหลื่อมล้ำ ที่เหมือนการนำชุดนักเรียนมาปิดบังความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในและระหว่างโรงเรียน ซึ่งถ้าเด็กใส่นาฬิกาหรือของที่มีราคาแพงก็สามารถเกิดความเหลื่อมล้ำได้เช่นเดียวกัน และยังมีความเหลื่อมล้ำของชุดนักเรียนของแต่ละโรงเรียนอีก ซึ่งเรื่องเหล่านี้โรงเรียนควรสอนเด็กในบริบทต่าง ๆ แทนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุรึเปล่า ? หรือจะเป็นเรื่องลดค่าใช้จ่าย ชุดนักเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่ว่ามีราคาที่ถูกหรือใช้ตลอดจนจบการศึกษาก็คงเป็นไปได้ยากเพราะขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นหรือเหตุผลอื่น ๆ และหลังจากจบการศึกษาไปก็คงจะไม่ได้ใส่อีก ซึ่งชุดนัดเรียนเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะหรือไม่ก็นำไปบริจาค ซึ่งการบริจาคก็ต้องย้อนกลับมามองอีกว่าถ้าไม่มีชุดนักเรียนแต่แรกก็ไม่จำเป็นต้องบริจาคหรือเกิดวงจรเหล่านี้ขึ้นใช่หรือไม่ ซึ่งอีกฝ่ายที่บอกว่าให้สามารถแต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียนได้ ความคิดเห็นส่วนมากก็ไม่ได้อยากให้ยกเลิกไม่มีชุดนักเรียนไป แต่มีความคิดเห็นว่าให้ชุดนักเรียนเป็น “ชุดทางเลือก” ซึ่งนักเรียนเลือกได้ว่าจะใส่ชุดไปรเวทหรือชุดนักเรียนไปโรงเรียน และไม่ใช่เพียงแค่เรื่องชุด แต่ยังมีเรื่องทรงผม การแต่งหน้า การทำสีผมหรืออีกมากมาย ซึ่งเหตุผลที่อยากให้เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า การที่เด็กสามารถเลือกชุดในการไปโรงเรียนได้จะเป็นการเสริมความมั่นใจในการแต่งตัว  เช่น เรื่องแต่งตัวตามเพศวิถี เด็กนักเรียนที่เพศกำเนิดชายแต่ต้องการใส่กระโปรงก็เป็นไปไม่ได้ เพราะกฎการบังคับให้เด็กเพศกำเนิดชายใส่กางกางและหญิงใส่กระโปรงเท่านั้น ซึ่งเป็นเหมือนการจำกัดเพศของเด็กด้วย ทั้งนี้ยังมีเรื่องที่สามารถลดภาระค่าใช้จ่าย ไม่สร้างขยะเพิ่ม และที่สำคัญคือสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กมากขึ้นถ้าดูจากเปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่โดนคุกคาม สุดท้ายนี้การตัดสินใจทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่อยู่ดี ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้พบเจอปัญหาเหมือนเด็ก

ความเหลื่อมล้ำภายในและระหว่างโรงเรียน

05_02.png

ความคิดของคนบางส่วนมักชอบคิดว่าเด็กมัธยมปลาย สายวิทย์-คณิตนี่โคตรเก่ง คนหรือเทพเจ้า จบไปก็กลายเป็นไอน์สไตน์ได้เลย จบสายนี้มีโอกาสเลือกคณะได้เยอะ เมื่อจบแล้วจะมีอนาคตกว่าสายอื่น ซึ่งทำให้สายอื่น ๆ หรือการเรียนอย่างอื่นที่เทียบเท่ามอ 6 กลายเป็นทางเลือกรองสำหรับบางคน เพราะการคาดหวังของเหล่าคนที่คิดเช่นนี้ ทำให้เกิดภาพจำผิด ๆ ฝังหัวเด็กไป เด็กบางคนถูกสั่งสอนให้เลือกสายวิทย์ตั้งแต่มัธยมต้น หรือเด็กกว่านั้น ทั้งที่เด็กหลายคนยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบหรืออยากจะเป็นอะไรในอนาคต แต่ด้วยการที่ได้ยินความเชื่อผิด ๆ นี้มา ทำให้เด็กมีความคิดที่ว่าเรียนสายนี้ไปก่อนเพราะเลือกได้เยอะ ค่อยไปคิดทีหลังว่าอยากจะเป็นอะไร

โรงเรียนไทยบางครั้งก็ไม่ได้สอนทุกอย่าง บางคณะที่เด็กอยากเข้าก็มีการใช้คะแนนหรือการให้สอบวิชานอกหลักสูตรการเรียนในโรงเรียน ยกตัวอย่างเช่น คณะออกแบบ หรือ คณะภาษาต่าง ๆ ที่โรงเรียนไม่มีการสอน ทำให้เด็กต้องขวนขวายกันเองด้วยการไปเรียนพิเศษข้างนอก หรือฝึกฝนกันเอง ทั้งที่เด็กก็ต้องเรียนในโรงเรียนวันละ 6 ชั่วโมงขึ้นไปแล้วแต่โรงเรียน นี่ยังไม่รวมเวลาหลังเลิกเรียนที่ต้องเรียนพิเศษอีก ลองคิดดูว่าถ้าหลักสูตรการเรียนดีจริง ทำไมเด็กเรียนที่โรงเรียนเยอะขนาดนี้แล้วต้องไปเรียนต่อที่เรียนพิเศษอึก เราสามารถนำตรงนี้มาบอกได้มั้ยว่าหลักสูตรในปัจจุบันไร้คุณภาพ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นข้อบกพร่องของการศึกษาไทยก็ได้ถ้าหากมองว่าบางครั้งก็เป็นการลดโอกาสที่จะทำตามฝันของเด็กในบางส่วนสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีเงินที่จะเรียนพิเศษ หรือมีเวลาสำหรับฝึกฝนด้วยตัวเองมากพอ และบางโรงเรียนถึงเป็นวิชาที่มีสอนก็ไม่ได้สอนครบถ้วนทุกเรื่องที่ทางผู้จัดสอบทำข้อสอบขึ้นมาจึงต้องไปหาแนวข้อสอบตามที่กวดวิชา แล้วทำไมหลักสูตรของที่โรงเรียนถึงไม่มีแนวข้อสอบเหล่านี้ ทั้งที่โรงเรียนต้องเป็นคนสอนเด็กนักเรียนเพื่อให้เด็กไปสอบเข้าในสถานศึกษาต่าง ๆ และครูในโรงเรียนบางคนก็รับสอนนอกเวลา ถ้าหากครูสอนในเวลาดีจริง ทำไมต้องให้เด็กไปเรียนเพิ่มกับตัวเองนอกเวลาเรียนด้วย หรือจริง ๆ แล้วเป็นการกั๊กความรู้ไว้เพื่อให้เด็กเสียตัวเรียนกับตัวเองนอกเวลา ข้อนี้คงไม่มีใครตอบได้นอกจากตัวครูในสถาบันนั้น ๆ ลองคิดแค่ในระบบโรงเรียนมัธยม เด็กเรียนวันละ 6 ชั่วโมง

ถ้าพูดถึงเรื่องการแข่งขันต้องยอมรับว่าในหลายสังคมเกิดการแข่งขันขึ้นเสมอ รวมไปถึงการแข่งขันเพื่ออยู่จุดพีคของการศึกษาเช่นเดียวกัน จุดพีคของการศึกษาคืออะไร ? จุดพีคของการศึกษาอาจจะเป็นการที่ได้รับความรู้ ได้รับโอกาสจากบุคลากรและสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเรียนในสถานศึกษาที่ได้รับการยกย่องจากคนส่วนมากในสังคม เพราะเป็นสถานศึกษาที่ได้รับการยอมรับว่ามีการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่ดี เราก็จะมีโอกาสที่จะศึกษาต่อหรือได้รับโอกาสในการทำงานมากกว่าสถานศึกษาที่ได้รับการยกย่องที่น้อยกว่า แต่ในส่วนนี้ก็อาจจะไม่ใช่ทุกคน (not all) เพราะก็มีส่วนของความสามารถในตัวบุคคลด้วย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าชื่อของสถานศึกษามีส่วนที่เป็นโอกาสแก่เด็ก ถ้าหากถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสถานศึกษาไหนได้รับการยอมรับ ก็อาจจะเป็นการรีวิวจากบุคคลต่าง ๆ หรือที่เห็นได้บ่อยครั้งคือการจัดอันดับสถานศึกษา ทุกคนครับ ทุกคนที่อ่านอยู่ เอ๊ะ!? มั้ยครับ ? มันน่าแปลกใจว่าทำไมการศึกษาถึงมีการจัดอันดับของสถานศึกษาทั้งที่จริง ๆ แล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกันรึป่าว ? ถ้าจะให้เห็นภาพชัดคงจะเป็นภาพของการสอบเข้าโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯเมื่อเร็ว ๆ นี้ เด็กเป็นหมื่นสมัครสอบเข้าโรงเรียนนี้ ทั้งที่จริงแล้วกระทรวงศึกษาก็มีการกำหนดหลักสูตรออกมาว่าเด็กต้องเรียนหลักสูตรแบบไหนและครูก็มีเกณฑ์ในการสอบที่จะเป็นครูและการสอน แต่กลับกลายเป็นว่าสถานศึกษาแต่ละที่ให้ประสบการณ์ ความรู้และโอกาสได้ไม่เท่ากัน และความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนในเมืองที่คิดว่าหนักแล้ว ลองคิดถึงภาพที่กว้างกว่านี้คือคนจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ ทำไมเด็กที่อยู่จังหวัดอื่นถึงต้องขวนขวายที่จะต้องเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ? ถ้าหากไม่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างจังหวัดหรือระหว่างสถานศึกษา เด็กคงไม่ต้องขวนขวายไปเรียนถึงกรุงเทพฯ เรื่องการเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ๆ สำหรับบางคนที่ไม่มีต้นทุน ถึงแม้ทางรัฐบาลจะให้เด็กเรียน”ฟรี” อะ เน้นขีดเส้นใต้ชัด ๆ อีกรอบว่า “ฟรี” (ย้อนกลับไปอ่านหน้า2) แต่ค่าเดินทาง ค่าอาศัยกินอยู่ในเมืองก็ไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับบางครอบครัว ผู้ปกครองบางคนต้องกัดฟันจ่ายเงินเพื่อให้ลูกหลานตัวเองมีอนาคตที่ดี ทั้งที่เด็กทุกคนสามารถมีอนาคตที่ดีได้หากคนที่มีอำนาจจัดการและบริหารดี น่าแปลกที่หลายคนก็เห็นปัญหาและเรียกร้องเรื่องเหล่านี้ ชี้แจงออกมาอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีหลักฐาน มีความชัดเจนทุกอย่างอยู่ตรงหน้าว่านี่คือปัญหาใหญ่โต แต่ทำไมเหล่าคนที่มีอำนาจ ที่สามารถแก้ไขเรื่องเหล่านี้ได้ กลับมองไม่เห็นปัญหา หรือบุคคลเหล่านั้นมองเห็นปัญหาแต่เลือกที่จะไม่แก้ไขด้วยเหตุผลบางอย่าง บุคคลเหล่านี้อาจจะเลือกที่จะหลับตาสูดกลิ่นบางอย่างที่หอมหวานแทนที่จะเลือกเปลี่ยนแปลงระบบเหล่านี้ให้ดีขึ้น สุดท้ายคนที่รับผลกลายเป็นเด็ก เด็กที่ไม่มีต้นทุนกลับโดนทอดทิ้ง ทั้งที่หลาย ๆ คนมีความสามารถแต่กลับโดนผู้ใหญ่ที่ถืออำนาจขัดขวางด้วยการไม่พัฒนาอะไรให้ดีขึ้นเลย คำที่บอกว่ารับฟังจากผู้มีอำนาจคงทำได้แค่รับฟังจริง ๆ แต่ไม่คิดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น บางคนกลัวที่เด็กในสถานศึกษาจะมีความเหลื่อมล้ำ แต่กลับไม่คิดแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่แล้ว คำว่า “เหลื่อมล้ำ” จึงเป็นคำที่น่าเศร้าคำหนึ่งสำหรับคนไทย

05.png
01_R_02.png

ปัญหาทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในหนังสือเล่มนี้ สุดท้ายแล้วก็แค่ส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพกว้างของปัญหามากมายที่ถูกซุกซ่อนอยู่ใต้พรมโดยผู้ที่มีอำนาจในด้านต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และเชื่อสิ่งที่พวกเขาทำอยู่คือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ถึงแม้ปัญหาเหล่านี้จะมีการแก้ไขบ้างบางส่วนหรือถูกนำมาให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านทางข่าวหรือโซเชียลมีเดีย แต่หลาย ๆ ครั้งก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หรือทำบางอย่างซ้อนทับลองไปทำให้เห็นปัญหาได้อย่างไม่ชัดเจน อย่างการที่ครูในโรงเรียนทำผิดกฎหรือผิดจรรยาบรรณที่ร้ายแรงแต่กลับไม่ได้รับโทษหรือถึงแม้รับโทษก็ไม่ได้รับโทษที่สมควรได้รับเทียบเท่ากับความผิด เพราะต้องการให้เรื่องที่เกิดขึ้นไม่เป็นเรื่องใหญ่หรือเป็นข่าวฉาว ครูที่ดีบางคนกลับโดนกดดันเพราะการเป็นครูที่ดี และยังมีปัญหาที่ไม่ได้กล่าวในหนังสือเล่มนี้อีกมาก ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อยถ้ามันทำให้เด็กเกิดความรู้สึกที่แย่หรือได้รับผลกระทบต่าง ๆ เพราะเด็กเหล่านี้ก็คือมนุษย์คนนึงเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ แต่กลับถูกลดทอนคุณค่าเพราะถูกคนที่มีอำนาจใช้อำนาจกดทับและมองว่า “ก็เป็นแค่เด็ก” ทั้งที่ความรู้สึกของเด็กก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ทุกวันนี้จะได้เห็นเด็กออกมาเรียกร้อง ออกมาหาความยุติธรรม หรือความถูกต้องเพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่โรงเรียนในประเทศนี้ได้ และเพื่อให้เด็กในรุ่นต่อ ๆ ไปมีชีวิตที่ดีกกว่าปัจจุบัน

สรุป

bottom of page